4| | | | | | | | |ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของด.ช อัษฎาวุธ รอดอ่อน ชั้น ม.2/4 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ น่ะจ้ะ| | | | | | | | |3

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หาดทรายแก้ว

 10. หาดทรายแก้ว
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

          หาดทรายแก้ว เป็นหาดทรายที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในอำเภอท่าศาลา นักท่องเที่ยวสามารถมานั่งชมพระอาทิตย์ขึ้น เล่นน้ำทะเล กินอาหารทะเลสด ๆ อร่อยได้ที่ร้านอาหารหาดทรายแก้ว และมานอนนับดาวได้ที่หาดทรายแก้วรีสอร์ท และถึงแม้ว่าหาดทรายชายทะเลแห่งนี้จะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่เป็นที่พักผ่อนที่สงบ ร่มรื่น สวยงามตามแบบชายฝั่งทะเลตะวันออก ด้วยแนวหาดทรายยาวที่มีทิวสนและดงมะพร้าวเป็นฉากหลัง เป็นความสุขที่หาได้ในราคาไม่แพงเลย

เขาหินพับผ้า

 9. เขาหินพับผ้า
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

          เขาหินพับผ้า อยู่ในอำเภอขนอม เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เห็นได้บนเขาหิน และเกาะบางเกาะในทะเลขนอม บริเวณหน้าอ่าวเตล็ด คือ ที่เกาะท่าไร่ เกาะนุ้ยนอก เขาหลักซอ และชายฝั่งอ่าวเตล็ด ลักษณะที่เห็นจะเหมือนเป็นแผ่นหินที่ทับซ้อนเรียงกันเป็นชั้น ๆ สูงขึ้นไป ด้านบนมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหลากหลายชนิด บางชนิดก็ดูแปลกตาออกไป

          สำหรับการเกิดของเขาหินพับผ้าเกิดจากกระบวนการหินตะกอน ที่มีการตกตะกอนของหินที่มีส่วนประกอบและความแข็งต่างกัน เป็นชั้น ๆ ในท้องทะเล ต่อมามีการเอียงและยกตัวของเปลือกโลกชั้นหินดังกล่าวก็เกิดเป็นหน้าผา เมื่อถูกกระแสน้ำและลมกัดกร่อนเอาชั้นที่อ่อนกว่าออกเหลือชั้นที่แข็งแกร่งกว่า ก็จะดูเหมือนแผ่นหินที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เปรียบเหมือนขนมชั้นหรือผ้าที่พับไว้ จึงเป็นที่มาของชื่อ "หินพับผ้า" เมื่อนักท่องเที่ยวฝรั่งได้มาเห็นที่นี่ก็บอกว่าเขาหินลักษณะนี้คล้ายกับ"Pancake Rock" ที่เมือง Punakaiki ประเทศนิวซีแลนด์ ก็เลยเรียกหินพับผ้าเหล่านี้ว่า "แพนเค้ก ร็อค เมืองไทย" ทั้งนี้ การจะมาเยี่ยมชมต้องไปเช่าเรือหางยาวที่แหลมประทับ เรือ 1 ลำ นั่งได้ 7 คน ควรจะมาเช้า ๆ เพราะอาจจะได้เห็นโลมาสีชมพูด้วยในระหว่างนั่งเรือชมหินพับผ้า

หาดหน้าด่าน

8. หาดหน้าด่าน
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

           หาดหน้าด่าน คือหาดที่อยู่บริเวณตอนกลางของอ่าวขนอม ชายหาดเป็นแนวยาว ทรายขาว เม็ดทรายละเอียด เหมาะแก่การเล่นน้ำทะเล บรรยากาศสงบเงียบ สะอาด สามารถมองทิวทัศน์ท้องทะเลสีครามสวยงาม มีที่พักและร้านอาหารริมหาดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ ในอดีตบริเวณหาดหน้าด่านเคยเป็นท่าเรือสินค้า ชุมชนชาวจีนซึ่งเป็นต้นตระกูลของชาวจีนอำเภอขนอมในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้งตลาดค้าขายมานับร้อยปีเพิ่งเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2505 ครั้งที่เกิดมหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก ปัจจุบันตลาดได้ย้ายไปอยู่ที่ตลาดสี่แยก ห่างจากหาดขนอมไปประมาณ 1.8 กิโลเมตร นับได้ว่าตลาดการค้ามีต้นกำเนิด ณ ที่บริเวณหาดหน้าด่านแห่งนี้

หาดในเพลา

 7. หาดในเพลา

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

          หาดในเพลา เป็นหาดที่มีชื่อเสียงคู่เมืองนครมานาน และเป็นจุดที่เด่นที่สุดในการท่องเที่ยว ลักษณะหาดเป็นแนวยาวโค้งขนานกับแนวภูเขาที่ตอนปลายยื่นไปในทะเล ทัศนียภาพโดยรอบมีความเป็นธรรมชาติที่งดงาม หาดทรายขาวสะอาดละเอียดเนียนนุ่ม สลับกับหาดหินและโขดหินเป็นช่วง ๆ น้ำทะเลใสสะอาดสีครามในอ่าวกว้าง เหมาะสำหรับเล่นน้ำ บริเวณหาดจะมีที่พัก ร้านอาหารให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

หาดคอเขา

6. หาดคอเขา

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร
          หาดคอเขา (หาดปิติ) อยู่ทางตอนเหนือสุดของอ่าวขนอม ติดกับเขาคอเขา เป็นหาดที่ชาวท้องถิ่นนิยมไปพักผ่อน ชายหาดจะต่อจากหาดหินงาม เนื้อทรายละเอียดมาก น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ ไม่มีอันตรายอะไร บริเวณโดยรอบได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านที่พักและร้านอาหารสำหรับบริการนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบางส่วนถูกจัดเป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกใช้ขนถ่ายแร่ของเอกชน และเป็นที่ตั้งของศาลกรมหลวงชุมพร

หาดหินงาม

5. หาดหินงาม
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

           หาดหินงาม หรือชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า หัวหินสิชล อยู่ในตำบลสิชล อำเภอสิชล นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อมานาน มีลักษณะเป็นหาดหินโค้งยาวขนานกับแนวคลื่นที่ซัดน้ำทะเลเข้ามาสู่ชายฝั่ง เหมาะแก่การเล่นน้ำ มีที่พักและร้านอาหารบริเวณริมหาดหลายแห่งหาดหินงาม บริเวณชายหาดเต็มไปด้วยก้อนหินกลมเกลี้ยง มีสีสันสวยงามและเป็นที่มาของชื่อหาดหินงาม ตลอดแนวชายหาดมีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการ และสำหรับคนพลังงานเหลือเฟือลองพายคายักดู นับเป็นการออกกำลังกายที่ดีและสนุกสนาน

อ่าวแขวงเภา

 4. อ่าวแขวงเภา

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร
           อ่าวแขวงเภา หรือชื่อเดิม อ่าวท้องตะเภา เป็นท้องอ่าวอีกแห่งหนึ่งที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีมุมมองที่สวยงามหลากหลายมิติ หาดทรายขาวละเอียดขนาบด้วยภูเขาขนาดกลาง น้ำทะเลใส มีทิวทัศน์ท้องทะเลที่เห็นเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะวังนอก เกาะวังใน และเกาะสมุย เหนือหาดเป็นสวนมะพร้าวและมีบริเวณเป็นสวนสาธารณะ นอกจากนี้ ที่อ่าวแขวงเภามีร้านอาหารที่เลิกกิจการไปแล้ว สามารถใช้เป็นจุดนั่งพักและนั่งชมบรรยากาศเงียบสงบโดยรอบของหาด

เกาะท่าไร่

3. เกาะท่าไร่
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

          เกาะท่าไร่ เป็นเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของเกาะแตน อยู่ในเขตตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม มีลักษณะเป็นลานหินซ้อนขนาดใหญ่ใต้เพิงถ้ำ มีผาหินชั้นเป็นฉากหลัง ดูเหมือนเป็นเวทีดนตรีเลยเรียกกันว่าเวทีพุ่มพวงตามชื่อของนักร้องดัง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ผู้ล่วงลับ แต่ที่นี้ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับนักร้องพุ่มพวงแต่อย่างใด ลานหินและผาหิน บริเวณนี้มีลักษณะเป็นชั้นหินเหมือนกับหินพับผ้า เป็นความแปลกตาที่หาชมได้จากทะเลขนอมที่เดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจะพบแนวหญ้าทะเลขนานไปตามชายฝั่งของเกาะ สัตว์น้ำนานาชนิดทั้งกุ้ง หอย ปู และปลา ซึ่งอาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ในแนวหญ้า โดยสามารถเช่าเรือหางยาวจากแหลมประทับมาที่นี่ได้

เกาะผี

2. เกาะผี
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

         เกาะผี เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับช่องรูเล็ต ที่มาของเกาะผี คือ มีชาวบ้านเห็นศพลอยอยู่บริเวณเกาะจึงเรียกกันว่าเกาะผี และมีลักษณะเป็นถ้ำ (สามารถเข้าไปเดินได้เมื่อน้ำลดต่ำสุด) ภายในมีฝูงค้างคาวและหอยหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถพบเห็นปะการังและกัลปังหาได้ด้วย สำหรับการเดินทางมายังเกาะผี สามารถเช่าเรือหางยาวมาได้จากท่าเรือแหลมประทับ ในระหว่างทางจะผ่านหลายจุดท่องเที่ยว เช่น หินพับผ้า เกาะนุ้ย ช่องรูเล็ต เป็นต้น

ช่องรูเล็ด

1. ช่องรูเล็ด
 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

 16 ที่เที่ยวทะเลนครศรีธรรมราช มนต์เสน่ห์ที่งดงามไม่แพ้ใคร

          สัญลักษณ์แห่งท้องทะเลขนอม อยู่ในเขตตำบลท้องเนียน ซึ่งเป็นรอยต่อของอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจุดเหนือสุดแดนขนอม มีลักษณะเป็นร่องน้ำลึกอยู่ระหว่างเกาะถ้ำกับเขาหัวช้าง และเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด เหมาะแก่การเที่ยวชมธรรมชาติของสัตว์นานาชนิด บริเวณรอบ ๆ มีเกาะแก่งที่สวยงามแปลกตา บริเวณปากร่องน้ำเป็นที่ตั้งของเกาะเล็ก ๆ ชื่อ เกาะผี

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช

                          วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
 ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน
พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม
พระพุทธสิหิงค์  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเรือไปตีเมืองลังกาครั้งที่ ๑ ได้พระพุทธสิหิงค์มา จึงได้ฉลองสมโภชรวมกับพระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๓ โดยมีนางพญาเลือดขาวนำเสด็จแทนพระเจ้าจันทรภาณุจากลังกา

พระพุทธสิหิงค์  มีลักษณะทางศิลปกรรมอยู่ในตระกูลช่างแบบนครศรีธรรมราชที่เรียกกันว่า แบบขนมต้ม ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณวังเจ้านครเก่า ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัด เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะบูชาในเวลาราชการทุกวัน

ในวันสงกรานต์ ชาวนครศรีธรรมราชจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่ไปยังสนามหน้าเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมา จังหวัดนครศรีธรรมราช

       
ประวัติความเป็นมา จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้
ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อยรอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นงในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกค
       จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช"ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น 
       คำว่า"นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้ แปลความได้ว่า "นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา 
       ถ้าจะลําดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลาง ในราว 8,350-11 ,000 ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อําเภอท่า ศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสําริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง 
       นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อําเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสําริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าใน ช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึง ปัจจุบันนี้ 
       พุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้ การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะ เนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสําคัญของคาบสมุทรไทยเป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณ หาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์ กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนําให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ก็สามารถจัดการปกครอง หัวเมืองรายรอบ ได้สําเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร คือ
1. เมืองสายบุรีตราหนู
2. เมืองปัตตานีตราวัว
3. เมืองกลันตันตราเสือ
4. เมืองปาหังตรากระต่าย
5. เมืองไทรบุรีตรางูใหญ่
6. เมืองพัทลุงตรางูเล็ก
7. เมืองตรังตราม้า
8. เมืองชุมพรตราแพะ
9. เมืองปันทายสมอ(กระบี่)ตราลิง
10. เมืองสระอุเลา (สงขลา)ตราไก่
11. เมืองตะกั่วป่า ถลางตราหมา
12. เมืองกระบุรีตราหมู
       จากหลักฐานตํานานเมืองนครศรีธรรมราช ตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตลอดถึงวรรณกรรมเรื่องพระนิพพานสูตรทุกสํานวน ต่างยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความ รุ่งเรืองไพศาลของนครศรีธรรมราช ในยุคดังกล่าวและสามารถควบคุมหัวเมือง อื่น ๆ ได้ทั่ว ถึงคาบสมุทร มีแสนยานุภาพเกรียงไกรถึงขนาดกรีธาทัพไปตีลังกาถึงสองครั้ง
        เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิม ให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็น ศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไปยัง หัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทาง ภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ 
       ในช่วงแรกของการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แต่งตั้งอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ขึ้นเป็น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช " เจ้าพระยานครนครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการมาจนถึงปลาย รัชสมัยรัชกาลที่ 2 จึงได้กราบทูลลาออกจากตําแหน่งด้วย เห็นว่าชราภาพมากแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระบริรักษ์ ภูเบศรผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมา กระทํา ความดีความชอบในราชการ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช " คนทั่วไป รู้จักในนาม เจ้าพระยานครน้อย " 
       เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ตามหลักฐานทางราชการ กล่าวว่าเป็นบุตรเจ้า พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) แต่คนทั่วไปทราบกันว่า เป็นโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี
       เจ้าพระยานครศรีธรรมราชผู้นี้มีความสามารถ ได้ปราบปรามหัวเมืองมลายู ได้สงบราบคาบเป็นนักการทูตที่สําคัญคนหนึ่ง โดยเฉพาะการเจรจากับอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 2-3 ได้ทําให้ เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมลายู เป็นที่น่านับถือยําเกรงแก่บริษัทอังกฤษซึ่ง กําลังแผ่อิทธิพลทางการค้าขายและทางการเมือง ในภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจาก นี้ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ยังเป็นผู้มีฝีมือในทางช่างหลายอย่างเช่น ฝีมือในทาง การต่อเรือจนได้รับสมญาว่าเป็น "นาวีสถาปนิก" และใน สมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช (น้อย) ก็ได้ถวายพระแท่นถมตะทอง และ พระราชยานถมอีกด้วย 
       ภายหลังที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนถัดมา คือเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ผู้บุตรไม่เข็มแข็งเท่าที่ควรเป็นเหตุให้หัวเมือง กระด่างกระเดื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไข จัดการปกครองหัว เมืองปักษ์ใต้ โดยให้มีการปกครองเป็นมณฑลนครศรีธรรมราชจึง เป็นมณฑลหนึ่งของ ประเทศไทย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้นสุขุม ) เป็นข้าหลวง เทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ในพ.ศ. 2439 
       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลง การบริหาร ราชการแผ่นดินด้านการปกครองหัวเมืองอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลนี้ โปรดฯ ให้มีการแต่งตั้ง ตําแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ขึ้น เพื่อปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ในการนี้ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ดํารงตําแหน่ง อุปราชปักษ์ใต้ 
       จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยุบมณฑล นครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และดํารงฐานะดังกล่าว เรื่อยมา จนปัจจุบัน
       ด้วยเหตุที่นครศรีธรรมราชมีประวัติอันยาวนานมาก ก่อนกรุงสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็น ราชธานีแรกของไทยมีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์มาก่อน ศิลป วัฒนธรรม เช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ช่างฝีมือพื้นบ้าน การละเล่น และ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจึงมีมาก ซึ่งชาวเมืองยังยึด ถือปฏิบัติกัน อยู่ในปัจจุบัน นครศรีธรรมราชจึงมีอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์ ของชาติ บ้านเมืองมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยนครศรีธรรมราช
ชื่ออักษรโรมันNakhon Si Thammarat
ชื่อไทยอื่นๆนคร, เมืองคอน
ผู้ว่าราชการนายภาณุ อุทัยรัตน์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2TH-80
ต้นไม้ประจำจังหวัดแซะ
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชพฤกษ์
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่9,942.5 ตร.กม.(อันดับที่ 18)
ประชากร1,513,163 คน (พ.ศ. 2551)
(อันดับที่ 8)
ความหนาแน่น152.19 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 25)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์(+66) 0 7535 6952
โทรสาร(+66) 0 7535 6531
จังหวัดนครศรีธรรมราช (มักเรียกสั้น ๆ ว่า นคร) เป็นจังหวัดในประเทศไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศใต้ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี
ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ
ประวัติศาสตร์
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมืองเป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีพระราชดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมาเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา คือ ปริก
หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  2. อำเภอพรหมคีรี
  3. อำเภอลานสกา
  4. อำเภอฉวาง
  5. อำเภอพิปูน
  6. อำเภอเชียรใหญ่
  7. อำเภอชะอวด
  8. อำเภอท่าศาลา
  9. อำเภอทุ่งสง
  10. อำเภอนาบอน
  11. อำเภอทุ่งใหญ่
  12. อำเภอปากพนัง
  1. อำเภอร่อนพิบูลย์
  2. อำเภอสิชล
  3. อำเภอขนอม
  4. อำเภอหัวไทร
  5. อำเภอบางขัน
  6. อำเภอถ้ำพรรณรา
  7. อำเภอจุฬาภรณ์
  8. อำเภอพระพรหม
  9. อำเภอนบพิตำ
  10. อำเภอช้างกลาง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล และ 159 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
  1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  2. เทศบาลเมืองทุ่งสง
  3. เทศบาลเมืองปากพนัง
  4. เทศบาลตำบลขนอม
  5. เทศบาลตำบลจันดี
  6. เทศบาลตำบลฉวาง
  7. เทศบาลตำบลไม้เรียง
  8. เทศบาลตำบลชะอวด
  1. เทศบาลตำบลเชียรใหญ่
  2. เทศบาลตำบลท่าศาลา
  3. เทศบาลตำบลที่วัง
  4. เทศบาลตำบลท่ายาง
  5. เทศบาลตำบลนาบอน
  6. เทศบาลตำบลทอนหงส์
  7. เทศบาลตำบลพรหมโลก
  8. เทศบาลตำบลพิปูน
  1. เทศบาลตำบลท่าแพ
  2. เทศบาลตำบลบางจาก
  3. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง
  4. เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
  5. เทศบาลตำบลหินตก
  6. เทศบาลตำบลลานสกา
  7. เทศบาลตำบลสิชล
  8. เทศบาลตำบลหัวไทร
  1. เทศบาลตำบลท้องเนียน
  2. เทศบาลตำบลปากนคร
ประชากร
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 266,668 นอกเขตเทศบาล 146,545 เทศบาลปากนคร 6,151 เทศบาลตำบลบางจาก 1,849 เทศบาลตำบลท่าแพ 4,101 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 108,022

ศาสนา

ชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 92.08% รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม 7.03% ศาสนาคริสต์ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,508,096 คน ณ ตุลาคม 2549) 
การคมนาคม
ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร และรถไฟ